สวัสดีสมาชิกทุกๆท่านครับ ในช่วงที่ผ่านๆมา หลายๆท่านคงจะได้เห็นปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นมาในหลายรูปแบบ หลายๆท่านอาจจจะสงสัยว่า ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ ทั้งๆที่ในความรู้สึกของคนทั่วๆไป อาจมองว่าไม่ถูกต้อง หรือไม่ยุติธรรมอย่างไรก็แล้วแต่ ดังนั้น ผมจะมาอธิบายในเรื่องดังกล่าว ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์(ทั้งในทางป้องกันตนเอง) สำหรับทุกๆคนนะครับ
สำหรับประเด็นจากหัวข้อนั้นดังกล่าวเป็นเรื่องของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาครับ ซึ่งกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญานั้น มีความมุ่งหมายในการคุ้มครองบุคคลที่ได้สร้างสรรค์ คิดค้น หรือประดิษฐ์สิ่งต่างๆขึ้นมาใหม่ และไม่ซํ้าใคร ให้เขาผู้นั้น มีสิทธิในการใช้สอยแสวงหาประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ในทางการค้าหรือธุรกิจ ฯลฯ ในสิ่งๆนั้นที่เขาได้คิดค้นขึ้นมา ถ้าหากไม่มีกฎหมายมาคุ้มครองสิทธิของบุคคลผู้เป็นเจ้าของสิทธิดังกล่าวแล้ว ย่อมจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่บุคคลนั้น เพราะคนอื่นๆย่อมจะขโมยความคิดของเขา ไปแสวงหา ระโยชน์เช่นกัน
ดังนั้น ในสังคม นักกฎหมายจึงได้คิดค้นหลักในการคุ้มครองสิ่งดังกล่าวขึ้นมา เห็นได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ ได้รับการคุ้มครองดังเช่นกับ ทรัพย์สินทั่วไป เช่น รถยนต์ บ้าน มือถือ ฯลฯ กล่าวง่ายๆว่า ของๆใคร ก็เป็นของๆคนนั้น เจ้าของทรัพย์สินจะทำอะไรกับทรัพย์สอนก็ได้ จะขาย จะแจก จะทิ้ง จะทำลาย ฯลฯ ก็ย่อมทำได้ ผู้ที่เป็นเจ้าของสิทธิ์ ในสิ่งที่เขาได้คิดค้นขึ้นมา เขาก็ย่อมได้รับการคุ้มครองเช่นกัน ใครคนอื่นจะมาก้าวล่วงสิทธิของเขาไม่ได้ ที่สำคัญหากไม่มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ก็อาจจะก่อให้เกิดผลเสียแก่สังคม นั้นก็คือ ไม่มีใครอยากคิดสิ่งใหม่ๆขึ้นมาอีก เพราะพอคิดขึ้นมา คนอื่นๆก็มาขโมยความคิดไปหมด
หากกล่าวถึงทรัพย์สินทางปัญญา หลายๆท่านโดยทั่วๆไป อาจจะนึกถึงคำว่า "ลิขสิทธิ์" (Copyright) เป็นอย่างแรก เพราะได้เห็นได้ยินในชีวิตประจำวันบ่อยๆ ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง โดยยังมีทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่นๆตามลักษณะต่างๆกันไป ดังนี้
ลิขสิทธิ์ งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม งานภาพยนตร์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ ลิขสิทธิ์ยังรวมทั้ง
- สิทธิ์ข้างเคียง (Neighbouring Right) คือ การนำเอางานด้านสิทธิ์ออกแสดง เช่น นักแสดง ผู้บันทึกเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ในการบันทึก หรือถ่ายทอดเสียงหรือภาพ
- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Program หรือ Computer Software) คือ ชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน
- งานฐานข้อมูล (Database) คือ ข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ
สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์(Invention) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด
- การประดิษฐ[/b] คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะ องค์ประกอบ โครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การรักษาหรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
- การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการทำให้รูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์เกิดความสวยงาม และแตกต่างไปจากเดิม
ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย
แบบผังภูมิของวงจรรวม หมายถึง แผนผังหรือแบบที่ทำขึ้น เพื่อแสดงถึงการจัดวางและการเชื่อมต่อของวงจรไฟฟ้า เช่น ตัวนำไฟฟ้า หรือตัวต้านทาน เป็นต้น
เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้สินค้า หรือบริการ ได้แก่
- เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้อง กับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่อง หมายบริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น
- เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบร
ิการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ เป็นต้น
- เครื่องหมายร่วม (Colective Mark) คือ เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กร อื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น
- ความลับทางการค้า หมายถึง ข้อมูลการค้าที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป และมีมูลค่าในเชิงพาณิชย์เนื่องจากข้อมูลนั้นเป็นความลับ และมีการดำเนินตามสมควรเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ
- ชื่อทางการค้า หมายถึง ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น โกดัก ฟูจิ เป็นต้น
- สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้ แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพชื่อเส
ียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เช่น มีดอรัญญิก ส้มบางมด ผ้าไหมไทย แชมเปญ คอนยัค เป็นต้น
(อ้างอิง จาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา)
หากจะกล่าวต่อไป สำหรับเรื่อง ลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวงการฮีโร่ทั้งไทยและเทศ สิ่งที่สำคัญที่สุดในเรื่องดังกล่าว คือ การคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ ซึ่งผู้สร้างสรรค์ ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ คือ ...ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์.
.. ซึ่งบุคคลดังกล่าว เมื่อได้สร้างสรรค์ฮีโร่ตัวหนึ่งขึ้นมา อย่างเช่น อสูรศาสตรา ของ พี่ลู นาคา ของ พี่ฮาตะ ผู้ที่สร้างสรรค์ก็ได้ลิขสิทธิ์ในสิ่งๆนั้นในทันที กฎหมายจะคุ้มครองสิทธิ์ทันที ที่เขาคิดค้นขึ้นมา โดยผู้สร้างสรรค์จะได้สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใดๆในสิ่งๆนั้น ดังที่ได้กล่าวมาก่อนหน้าแล้ว ก็คือ จะเอาไปทำการ์ตูน ให้คนอื่นใช้สิทธิก็ได้ ฯลฯ หากมีบุคคลอื่น นำสิ่งที่ผู้สร้างสรรค์ไปใช้กระทำการใดๆ ก็ย่อมมีความผิด ทั้งทางแพ่งและทางอาญา ทางแพ่งก็คือ คนที่เอาสิ่งที่คนอื่นคิดไปใช้ ก็อาจถูกเรียกร้องค่าเสียหายในฐานละเมิดลิขสิทธิ์ได้ และยังมีโทษทางอาญา หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้ทำละเมิด พวกขโมยความคิดของคนอื่นมาใช้ไปแสวงหาประโยชน์ต่างๆโดยผิดกฎหมาย หากผู้สร้างสรรค์แจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดี เมื่อส่งให้ศาลพิจารณา หากแพ้คดีศาลก็จะลงโทษ ต้องถูกยึดของ หรือโดนปรับ และอาจโดนจำคุก อีกด้วย(แล้วแต่กรณี) จะเห็นได้ว่ามาตรการทางกฎหมายนั้น เข้มข้นมาก เนื่องจากกฎหมายอยากให้คนเคารพสิทธิ์ซึ่งกันและกัน จะได้ไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย ว่ากันง่ายๆก็คือ การละเมิดลิขสิทธิ์ เหมือนกับการขโมยของนั้นหละ แต่หากเป็นการขโมยความคิด นั้นเอง
เพิ่มเติมไปอีกว่า การได้ลิขสิทธิ์จำต้องจดทะเบียนหรือแจ้งข้อมูลหรือไม่่ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าท่านสร้างสรรค์ ท่านมีสิทธิ์ทันที การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือประเทศอื่นๆ ก็เพื่อความชัดเจนแน่นอนอีกทางหนึ่ง ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของสิทธิ์ที่ท่านมีปรากฎชัดยิ่งขึ้น และในอนาคตหากมีผู้มาละเมิดสิทธิ์ท่าน ท่านก็สามารถใช้หลักฐานดังกล่าวยืนยันได้ชัดเจนและเด็ดขาดมากขึ้น ทั้งนี้ขั้นตอนในการจดทะเบียนก็ไม่ยุ่งยากมากนัก แต่ใช้ระยะเวลา หากสนใจศึกษาได้ที่
http://www.ipthailand.org (สำหรับใน USA การจดทะเบียนมีความสำคัญมาก เนื่องจากหากท่านต้องการใช้สิทธิทางศาล ในกรณีมีคนมาละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน สิ่งที่ถูกละเมิดต้องได้รับการจดทะเบียนแล้วเท่านั้น)
กฎหมายลิขสิทธิ์ยังได้ให้ความยุติธรรมแก่คนอื่นๆด้วย หากจะให้ความคุ้มครองตลอดไป แก่คนๆเดียว ก็ย่อมไม่เป็นธรรม กฎหมายได้อายุในการคุ้มครองสิทธิ์ไว้ คือ ให้คุ้มครองสิทธิ์ดังกล่าว ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ตาย หากเป็นบริษัทถือลิขสิทธิ์ ให้มีอายุคุ้มครอง 50 ปี นับแต่วันที่ได้มีการเผยแพร่โฆษณาในครั้งแรก (ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย ถ้าเป็นกม.ลิขสิทธิ์ของusa งานที่สร้างสรรค์ในวัน หรือภายหลังวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1978 มีอายุการคุ้มครองตลอดชีวิตผู้สร้างสรรค์ บวกด้วย 70 ปี นับแต่วันที่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย) ฉะนั้น ในระยะเวลาดังกล่าว ผู้สร้างสรรค์ ซึ่งเป้นเจ้าของลิขสิทธิ์ ย่อมมีสิทธิ์ที่จะทำการใดๆ เช่น ทำซํ้า เผยแพร่ต่อสาธารณชน จำหน่าย ดัดแปลง ฯลฯ คนอื่นๆไม่มีสิทธ์ หากไปทำการใดๆโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้สร้างสรรค์ก็จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
หลายๆคนอาจสงสัยว่า หากเราคิดฮีโร่ตัวนึงขึ้นมาในไทย ความคุ้มครองจะเกิดขึ้นในเมื่องนอกหรือไม่ ฝรั่งจะมาเอาความคิดที่เราคิดไปใช้ได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ความคุ้มครองมีไปเกือบทั่วโลกหละครับ เพราะไทยเข้าเป็นภาคีของความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาฯ ซึ่งมีสมาชิกกว่า 110 ประเทศครับ ดังนั้น หากเราคิดฮีโร่ขึ้นมา ในไทย รับรองได้ว่าสิ่งๆนั้น เป็นของเราผู้เดียวหละครับ เหมือนนาฬิกาบนข้อมือท่าน ท่านเป็นเจ้าของ ใช้ยันกับคนอื่นๆได้ทั่วโลก
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า กฎหมายทรัยพ์สินทางปัญญาของไทยและสากล ซึ่งหลักคล้ายๆกัน ในส่วนที่เกี่วกับวงการฮีโร่ ก็คือ ลิขสิทธิ์ จะเห็นได้ว่า ฮีโร่ แต่ละตัว ก็มีเจ้าของ อย่างไอ้มดแดง ไอ้แมงมุม ต่างๆ ก็มีเจ้าของลิขสิทธิ์ หากเราจะไปทำการใดๆ ที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ก็ย่อมจะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย ส่วนมากเจ้าของสิทธิ์ มักจะตั้งบริษัทตัวแทนในไทย ให้ดูแลผลประโยชน์ต่างๆ ว่ามีใครมาละเมิดใช้สิทธิไปดัดแปลง ทำซํ้าไหม จะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
อะ หลายๆท่านคงมีคำถาม แล้วจะแตะต้องทำอะไรไม่ได้เลยหรือ กับงานที่มีลิขสิทธิ์
กฎหมายได้วางข้อยกเว้นไว้ครับ ผมขออนุญาตอ้างมาตรา ดังต่อไปนี้ครับ (ถ้อยคำชัดเจน อ่านเข้าใจเองได้)
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์มาตรา ๓๒ การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงาน อันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท (๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ โดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
มาตรา ๓๓ การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึง ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง
มาตรา ๓๔ การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุดซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
(๒) การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ในการ วิจัยหรือการศึกษา
มาตรา ๓๕ การกระทำแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อหากำไรและได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมค
อมพิวเตอร์นั้น
(๕) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควร โดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจาก บุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษา หรือป้องกันการสูญหาย
(๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(๗) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
(๘) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
(๙) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิงหรือค้นคว้าเพื่อประ
โยชน์ของสาธารณชน
มาตรา ๓๖ การนำงานนาฏกรรม หรือดนตรีกรรม ออกแสดงเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามความเหมาะสมโดยมิได้จัดทำขึ้น หรือดำเนินการ เพื่อหากำไรเนื่องจากการ จัดให้มีการเผยแพร่ต่อ สาธารณชนนั้น และมิได้จัดเก็บค่าเข้าชมไม่ว่าโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม และนักแสดงไม่ได้ รับค่าตอบแทนในการแสดงนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากเป็นการดำเนินการโดยสมาคม มูลนิธิ หรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการสาธารณกุศล การศึกษา การศาสนา หรือการสังคมสงเคราะห์ และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง
มาตรา ๓๗ การวาดเขียน การเขียนระบายสี การก่อสร้าง การแกะลายเส้น การปั้น การ แกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์ การแพร่ภาพ หรือการ กระทำใด ๆ ทำนอง เดียวกันนี้ซึ่งศิลปกรรมใดอันตั้งเปิดเผยประจำอยู่ในที่สาธารณะ นอกจากงานสถาปัตยกรรม มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมนั้น
มาตรา ๓๘ การวาดเขียน การเขียนระบายสี การแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การ พิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์หรือ การแพร่ภาพซึ่งงานสถาปัตยกรรมใด มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสถาปัตยกรรมนั้น
มาตรา ๓๙ การถ่ายภาพหรือการถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานใด ๆ อันมีศิลปกรรมใด รวมอยู่เป็นส่วนประกอบด้วย มิให้ถือว่าเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมใดมีบุคคลอื่นนอกจากผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของอยู่ด้วยก
ารที่ผู้สร้างสรรค์คนเดียวกันได้ทำ ศิลปกรรมนั้นอีกในภายหลังในลักษณะที่เป็นการทำซ้ำบางส่วนกับศิลปกรรมเดิม หรือใช้แบบพิมพ์ ภาพร่าง แผนผัง แบบจำลอง หรือข้อมูล ที่ได้จากการศึกษาที่ใช้ในการทำศิลปกรรมเดิม ถ้าปรากฏว่าผู้สร้างสรรค์มิได้ทำซ้ำหรือลอกแบบในส่วนอันเป็น สาระสำคัญของศิลปกรรมเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
มาตรา ๔๑ อาคารใดเป็นงานสถาปัตยกรรมอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ การบูรณะอาคารนั้นในรูปแบบเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ใดสิ้นสุดลงแล้ว มิให้ถือว่าการนำภาพยนตร์นั้นเผยแพร่ต่อ สาธารณชนเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ สิ่งบันทึกเสียงหรืองานที่ใช้จัดทำ ภาพยนตร์นั้น
มาตรา ๔๓ การทำซ้ำ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการโดยเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ดังกล่าวซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ และที่อยู่ในความครอบครองของทางราชการ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตาม มาตรา๓๒ วรรคหนึ่ง
จะเห็นได้ว่า ในวงการฮีโร่ หากเราไปเอาสิ่งที่เขาสร้างสรรค์ขึ้นมาใช้ในการค้า หรือแสวงหาประโยชน์ ก็ย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
แต่ ถ้าหากเราไม่ได้นำสิ่งที่สร้างสรรค์ มาใช้ในทางการค้า หรือแสวงหาประโยชน์หละ จะผิดไหม ? จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือเปล่า ?
จะเห็นมาตราที่ผมยกมาอันหนึ่ง นั้นก็คือ
ม.32 .. (๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท หากเรานำตัวละคร หรือทำชุดฮีโร เพื่อใช้แต่งในงานประกวด โดยความชอบของตนเอง หรือไปงานการกุศล ฯลฯ ในขอบเขตดังกล่าว ก็ย่อมไม่ผิดกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือ ในกรณีการไรท์แผ่น หากเราซื้อแผ่นถูกกฎหมายมา อยากจะไรท์ต่อให้เพื่อนสนิทของเราสักคนหนึ่ง หรือจะไรท์เก็บไว้เอง อยากเก็บแผ่นจริงไว้ ก็ทำได้ครับ แต่ไม่ใช่ว่าไรท์ให้เพื่อน 50 คน อย่างนี้ละเมิดลิขสิทธิ์นะครับ ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกๆคนควรจะทำถูกต้องตามกฎหมายนะครับ อย่าเอาช่องว่างนี้ ไปใช้ในทางที่ไม่ชอบครับ
สุดท้ายนี้ สำหรับกฎหมายลิขสิทธิ์ กับ วงการฮีโร่ ระหว่างผู้สร้างสรรค์กับผู้บริโภค หากผู้สร้างสรรค์ผลงานได้ดี มีคุณภาพ ผู้บริโภคก็ควรที่จะสนับสนุนผู้สร้างสรรค์ ในทางที่ถูกกฎหมาย ทั้งนี้ย่อมก่อให้เกิดผลดีกับทั้งสองฝ่าย
ในทางกลับกัน ผู้สร้างสรรค์ก็ย่อมต้องรักษาคุณภาพของผลงานให้คงคุณภาพและพัฒนาคุณภาพยิ่งๆขึ้นเช่น
กัน
ความรู้ดังกล่าวนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับสมาชิกทุกๆท่านนะครับ หากผิดพลาดโปรดอภัย
หากท่านอยากศึกษาเพิ่มเติม เชิญได้ที่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
http://www.ipthailand.org